วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เรียนรู้จาก ททท.


ทำเงินบนโลกไอที : เรียนรู้จาก ททท.

หนึ่งในธุรกิจที่ถูกมองว่าสามารถสร้างโอกาสจากกระแสโลกออนไลน์ได้อย่างมหาศาลนั้นหนีไม่พ้นธุรกิจท่องเที่ยว สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ทำให้"ททท."ลงมือปรับตัวเองให้หมุนตามพายุโอกาสและเก็บเกี่ยวประโยชน์จากกระแสที่เชี่ยวกรากไว้ให้มากที่สุด "ทำเงินบนโลกไอที"สัปดาห์นี้จึงขอพาคุณผู้อ่านทุกคนไปติดตามความเคลื่อนไหวของ ททท. ซึ่งอาจช่วยจุดประกายไอเดียให้ผู้ประกอบการอย่างคุณสามารถเดินตามเพื่อโกยกำไรจากปรากฏการณ์นิวมีเดียสะท้านโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้

***การใช้สื่อร่วมสมัย (Digital และ Internet) มาทำการตลาดเชิงรุกให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
(โดยฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้อำนวยการกลุ่มสารสนเทศการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย @Thapanee www.tourismthailand.org)

จากการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด รวมถึงปัจจัยและสภาวะแวดล้อมทั่วโลกขององค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวต่างๆ ตลอดจนธุรกิจในอุตสาหกรรมการบริการและการค้าทั่วโลก พบว่ามีการใช้ประโยชน์จากการทำการตลาดออนไลน์ e-Marketing ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการระดมกลยุทธ์เพื่อสร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วงชิงและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าต่างๆ อย่างดุเดือดและต่อเนื่อง

ททท. ในฐานะองค์กรส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วโลก กอรปกับเป็นองค์กรที่ต้องให้สนับสนุนการบริโภคสินค้าและบริการของผู้ประกอบการไทยเช่นเดียวกัน ได้เริ่มมีการพัฒนานำการใช้สื่อร่วมสมัย (New Media) ในรูปแบบต่างๆ มาใช้เป็นช่องทางในการส่งเสริมภาพลักษณ์ สร้างความเข้าใจ ควบคู่ไปกับความมั่นใจ ตลอดจนใช้เป็นการเพิ่มและขยายช่องทางการเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวตลาดใหม่ๆ โดยในขณะเดียวกัน ก็ยังคงสามารถใช้เป็นช่องทางการรักษาฐานตลาดลูกค้าเก่าได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ

ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมานี้ ททท.ก็ได้เริ่มมีการปรับบทบาทและกลยุทธ์ e-marketing เพื่อการพัฒนาองค์กรให้เป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาค และให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำทั่วโลกมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินงานด้านการตลาดสารสนเทศนี้ยังต้องดำเนินการพัฒนาและสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โดย ททท. จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องต่างๆ ดังนี้

1. ปรับโครงสร้างเว็บไซต์ท่า ททท. (www.tourismthailand.org) ให้มีความทันสมัย เข้าถึงง่าย

เราจัดระเบียบและการบูรณาการเว็บไซต์ทั้งหมดของ ททท. เน้นความเป็นเอกภาพ (Corporate Website) และชัดเจนในวัตถุประสงค์ตลอดจนลดความซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็นลง โดยเราปรับปรุงการนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับการสร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้าท่องเที่ยวและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละประเทศ

อนึ่ง เพื่อเป็นการ engage กลุ่ม Internet user เว็บไซต์ตัวนี้ได้มีการใช้สื่อผสมที่สามารถตอบสนองได้ (Interactive) รวมถึงเพิ่มความหลากกลายในการนำเสนอสื่อผสมมัลติมีเดียต่างๆ เช่น eBrochure, Photo gallery, Video และ Blog เป็นต้น

ททท. เราคาดหวังจะใช้ช่องทางออนไลน์เป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักที่ จะ engage นักท่องเที่ยวและสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยรวมของ ประเทศอย่างแท้จริง

นอกจากจะมีการบริการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยว (information provider) แล้ว จะมีการพัฒนาเพิ่มบริการส่งข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยวตามความสนใจ (Travel Alert Service) รวมถึงการบริการตอบกลับ หรือโต้ตอบข้อมูลที่นักท่องเที่ยวสอบถามเข้ามา (Feedback Handling correspondence) ที่มีประสิทธิภาพเป็นต้น

2. การสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) ทั้งในและต่างประเทศ

ด้วยความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าระบบอินเตอร์เน็ตกลายเป็นช่องทางสื่อสารที่สำคัญในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปปัจจุบัน กอรปกับพลังอำนาจของชุมชนออนไลน์ ทำให้พลวัตเทคโนโลยีสื่อสารออนไลน์ได้มุ่งเน้นพัฒนาโปรแกรมที่จะแทรกซึมเข้าไปอยู่ในชุมชนต่างๆเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง สังคมออนไลน์กลายเป็นกลุ่มสังคมกลุ่มใหม่ที่นักท่องเที่ยวเลือกเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์เพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกจุดหมายในการเดินทาง ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงนี้คือ ความเชื่อถือในสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบเดิมลดน้อยลง

ในทางตรงกันข้ามความนิยมใน CGC (Consumer Generated Content) ผ่าน Blog กระทู้ และเว็บไซต์ประเภท Social Networking มีมากขึ้น นักท่องเที่ยวหันมารับฟังและให้ความสำคัญกับภาพถ่าย บทความ วีดีโอ และคำแนะนำของคนรู้จัก หรือนักท่องเที่ยวด้วยกันเองที่มีประสบการณ์เดินทางไป ณ ที่นั้นมาก่อน รวมทั้งยังมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล การวิเคราะห์ เปรียบเทียบเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการในราคาที่ที่สุดก่อนการจอง

ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงไม่ใช่เพียงช่องทางเพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์เท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นพนักงานต้อนรับ เป็นหน้าร้าน และเป็นพนักงานขายที่สามารถปิดการขายได้สมบูรณ์ครบวงจร

การเติบโตที่เห็นได้ชัดของกิจกรรมหรือปริมาณผู้รับรู้ข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์คือ ผลการวิจัยที่เปิดเผยว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมใช้สื่ออินเตอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลทางการท่องเที่ยว คิดเป็น 17 ต่อ 1 เมื่อเทียบกับสื่อโทรทัศน์ และ 6 ต่อ 1 เมื่อเทียบกับสื่อสิ่งพิมพ์ ข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นข้อสนับสนุนที่ดีที่เราจะมีการวิเคราะห์การวางน้ำหนักของสื่อเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของไทยในอนาคต

ในปัจจุบัน ททท.ได้ให้ความสำคัญกับการทำการตลาดออนไลน์ และพยายามเข้าถึงชุมชนออนไลน์ในทุก touch point เพื่อจะเข้าถึงซึ่ง Profile ของนักท่องเที่ยวแต่ละบุคคล และสามารถต่อยอดการทำการตลาดแบบ one to one เจาะลึกถึงความต้องการด้านสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวได้แบบ personalize อย่างแท้จริง

ตัวอย่างกิจกรรม ช่องทางชุมชนออนไลน์ของ ททท. สามารถชมได้ที่ www.Facebook.com/Amazingthailand)<£>


3. สร้างศูนย์ข้อมูลส่วนกลางอย่างเป็นระบบ (Single & Centralize database center)

ศูนย์นี้จะทำหน้าที่จัดเก็บและรวบรวมฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตลาดสารสนเทศ โดยให้ความสำคัญในเรื่องต่างๆ อาทิ จัดตั้งศูนย์ให้ข้อมูล online Intelligence Center และศูนย์บริการการค้าด้านการท่องเที่ยว e-Trade เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและติดอาวุธทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs ใน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผ่าน web B2B www.thaitravelmart.com

รวมถึงการออกแคมเปญเพื่อส่งเสริมการขายให้กับผู้ประกอบการ อาทิ โครงการ Smile Support (www.tourismthailand.org/smilesupport) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา เป็นต้น

4. บริหารภาพลักษณ์บนโลกออนไลน์ในสภาวะวิกฤต (Online Crisis and Online Reputation Management)

การท่องเที่ยวของไทยในปัจจุบันมีความอ่อนไหวต่อสภาวการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก เหตุผลหนึ่ง อันเนื่องมาจากความรวดเร็วและการครอบคลุมของการสื่อสารทุกประเภท

เหตุการณ์วิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาอย่างร้ายแรงคงหลีกไม่พ้น เรื่องของวิกฤติความขัดแย้งทางการเมือง และจากเหตุการณ์ในครั้งนี้เอง ทำให้คนไทยตระหนักถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีและสื่อชุมชนออนไลน์ที่ทรงพลังการสื่อสารที่ทันสมัยในปัจจุบัน ทำให้เหตุการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นขยายผลการรับรู้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

ดังนั้น แนวทางการบริหารจัดการภาวะวิกฤติจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากเรามีการเตรียมพร้อมเราก็สามารถพลิกวิกฤตนั้นเป็นให้โอกาสโดยใช้ช่องทางออนไลน์นี้เช่นเดียวกัน ในช่วงวิกฤตดังกล่าว ททท. ได้ใช้ระบบระบบสารสนเทศเข้ามาใช้สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบอย่างเป็นระบบ

เรามี Online Crisis Management Team คอย monitor และให้ข้อมูลข่าวสารตามความเป็นจริงในชุมชนออนไลน์ที่ใช้ภาษาอังกฤษ และในชุมชนออนไลน์ภาษาท้องถิ่นหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่นและเกาหลี รวมถึงมีการ update ข้อมูลสถานการณ์ต่างๆ ผ่านมินิเว็ปไซต์ www.thailandtourismupdate.com และการจัดทำข่าวสารออนไลน์ ePress Release เพื่อทำความเข้าใจไปยังสื่อ (Media) ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง web publisher ด้วยอย่างต่อเนื่อง

5. การทำการตลาด online eMarketing เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งในและต่างๆประเทศ

สิ่งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์และตราสินค้า (Brand) ที่ชัดเจน (Online Branding) รวมถึง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนักท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำ Repeat Traveller การกระจายไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Niche Market และมีกำลังการซื้อสูง ซึ่งกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ (eMarketing Strategy) ที่ททท. วางไว้หลักๆ อาทิ

• ทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการตลาดผ่าน website ที่เตรงกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ Web PR ,Banner Advertising , eSponsorship

• Online Advertising ตามกลุ่มตลาดเป้าหมายต่างๆ

• Social Media Networking กระจายและสร้างฐานกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วโลกผ่าน เว็ปชุมชนออนไลน์ ที่ทรงอิทธอพลของโลก อาทิ Facebook, Twitter, MySpace, Youtube เป็นต้น

• E-Partnership กับ Online Travel Agent , Travel Service Provider ที่ทรงอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆ

• eMail Direct Marketing (EDM) เจาะกลุ่มเป้าหมายโดยใช้กิจกรรม สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเป็นจุดขายหลัก

• eCRM เพื่อรักษาไว้ซึ่งนักท่องเที่ยวเก่า และ เพื่อเพิ่มจำนวน Repeat Travellers

• Weblog management / Blog Marketing / e-Advertorial บริหารจัดการ weblog ด้านการท่องเที่ยวที่เป็นที่น่าสนใจและมีฐานสมาชิกเยอะ รวมถึงการสนับสนุน Blogger ชั้นนำด้านการท่องเที่ยวในการเยี่ยมชมเขียนบทความในมุมมองที่จะสร้างแรงจูงใจในการเดินทางมาสัมผัสกับประสบการณ์จริง

• Search Engine Optimization , Paid Search Engine (PPC; Pay Per Click) ทำการโฆษณาผ่านช่องทาง Search Engine หลักๆ ของโลก และที่ทรงอิทธิพลในตลาดเป้าหมายหลักของไทย เช่น Google , Yahoo, Baidu เป็นต้น

• eMail, eNewsletter ,eNews Release ส่งข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม และ แคมเปญการท่องเที่ยวต่างๆ ผ่านฐานข้อมูลทั้งใหม่และเก่า

• Social Media Site : UGM (User Generated Media) / CGM (Consumer Generated Media) Marketing ผ่านชุมชนออนไลน์ที่ทรงอิทธิพลของโลก อาทิ Facebook Twitter หรือผ่าน ชุมชนออนไลน์ด้านการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น TripAdvisor, Lonely Planet เป็นต้น

การเตรียมความพร้อมต่างๆนี้ เกิดขึ้นเพื่อให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดชะงัก.

ที่มา
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9530000088326